นักเคมีจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสออสติน (The University of Texas at Austin) ได้พัฒนาวัสดุที่ใช้เป็นตัวตรวจจับการปนเปื้อนสารเคมีชนิดต่างๆ, การรั่วไหลของสารเคมีที่เป็นอันตราย, การปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีในน้ำดื่ม โดยวัสดุดังกล่าวมีราคาถูก รวดเร็ว และพกพาได้ง่าย เพื่อลดกระบวนการที่ยุ่งยากในการระบุสารเคมีก่อนเริ่มทำความสะอาด ของเหล่าโรงงานผลิตสารเคมีที่ถูกทิ้งร้าง ซึ่งมักมีถังเก็บสารละลายที่ไม่ติดฉลากหรือสาธารณูปโภคที่ได้รับการปนเปื้อน โดยการนำก้านกระดาษ (dipstick) แบบใช้แล้วทิ้งเคลือบด้วยวัสดุดังกล่าว แล้วจุ่มลงในสารต้องสงสัย นำเข้าเครื่องอ่านลำแสงอัลตราไวโอเลต (UV reader) สีของแสงที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์ จะระบุว่ามีส่วนประกอบใดอยู่ในสารต้องสงสัย เช่น ตัวทำละลายอินทรีย์, ฟลูออไรด์, ปรอท และโลหะหนัก เป็นต้น
วัสดุที่คิดค้นขึ้นมา เรียกว่า PCM-22 เป็นผลึกที่ได้จากไอออนลันนัลด์ (lanthanide ions) และ ไตรฟีนิลฟอสฟีน (triphenylphosphine) เมื่อเกิดพันธะเคมีและแสงยูวีส่องบนวัสดุ จะเกิดการปล่อยแสง (invisible light) ที่มีสีเฉพาะ โดยสารเคมีแต่ละชนิดจะสร้างสีและความสว่างที่ไม่เหมือนกันซึ่งสามารถใช้ในการระบุและหาจำนวนสารเคมีได้ นอกจากนี้สมบัติที่เป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของ PCM-22 คือสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างน้ำสองประเภทคือน้ำธรรมดา (H2O) ที่เราพบในชีวิตประจำวันและสิ่งที่เรียกว่าน้ำหนัก (D2O, Heavy water) ซึ่งใช้ในการวิจัยทางการแพทย์ได้อีกด้วย สามารถใช้ในการตรวจการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี ในน้ำดื่มหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ เช่น ทะเลสาบและแม่น้ำ เมื่อน้ำธรรมดาสัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสี เช่นยูเรเนียม บางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำหนัก (Heavy water) จึงทำให้ทราบการปนเปื้อนจากกัมมันตภาพรังสีได้ จากความไวต่อการตรวจจับสูง (Sensitive) ของวัสดุ ทำให้สามารถตรวจจับความเข้มข้นของน้ำธรรมดาถึง 10 ส่วนต่อล้านส่วน ในสารละลายน้ำหนัก อาจทำให้สามารถตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารที่ทำปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น
ที่มา : Phys.org [https://phys.org/news/2017-04-material-money-medical-imaging-environmental.html]
ขอบคุณข้อมูลจาก : The University of Texas at Austin (UT Austin)